Share
Explore

มูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Atthaphol N.
22/01/2024

Introduction

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อย 70 ของ GDP ของประเทศ ดังนั้นการศึกษาข้อมูลการส่งออกของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะช่วยให้นักธุรกิจหรือผู้สนใจการลงทุนเข้าใจถึงทิศทาง แนวโน้ม และผลกระทบต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนทั้งประเทศที่จะส่งออก ขนาดของกิจการที่เหมาะสม และประเภทสินค้าที่ควรจะลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจส่งออกอย่างยั่งยืน

วัถุประสงค์

เพื่อศึกษาและจัดอันดับประเทศที่ประเทศไทยมีการส่งออกมากที่สุด
เพื่อศึกษาแนวโน้มมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจตามขนาดของธุรกิจ
เพื่อศึกษาผลกระทบของแต่ละช่วงเวลาต่อการส่งออกของธุรกิจแต่ละขนาด
เพื่อศึกษาแนวโน้มของสินค้าส่งออกที่มีการเติบโตและน่าสนใจในการลงทุนทำธุรกิจ

กลุ่มประเทศที่นำเข้าสินค้าจากประเทศไทย

image.png

แผนภาพแสดงการจัดอันดับประเทศที่ไทยมีการส่งออกมากที่สุด

image.png
ข้อมูลจากปี 2561-2566 พบว่านอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น เป็นกลุ่มประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งประเทศไทยก็มุ่งเน้นที่การส่งออกในแถบเอเซียและประเทศใกล้เคียง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการขนาด Micro S และ M บางกลุ่มเช่น ส่งออกอาหาร และสินค้าทางการเกษตร ควรเริ่มต้นที่การส่งออกในประเทศใกล้เคียงเนื่องจากจะสามารถควบคุมต้นทุนค่าขนส่งในระยะเริ่มต้นของธุรกิจได้
ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการขนาด M และ L อาจจะมีกลยุทธการปรับสัดส่วน หรือกระจายการส่งออกไปยังประเทศ 5 อันดับแรก เพื่อเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทิศทางการเติบโตตามขนาดของธุรกิจ

แผนภาพแนวโน้มการเติบโตขงธุรกิจแต่ละขนาดปี 2561-2566

image.png
จากทิศทางการเติบโต และความสม่ำเสมอของการทำธุรกิจะเห็นได้ว่าหากเป็นธุรกิจขนาด L และ M นั้น ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาไม่มีการเติบโตที่มากนักแต่ในทางกลับกันในช่วงวิกฤติโรคระบาก COVID-19 ก็ได้รับผลกระทบไม่มากเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจะสามารถรับมือได้ดีกว่า และยังคงรักษาคความสม่ำเสมอของการดำเนินธุรกิจได้
ในทางกลับกันธุรกิจขนาด เล็กมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตเล็กน้อยสำหรับธุรกิจขนาด S และเติบโตอย่างก้าวกระโดดสำหรับธุกิจขนาด Micro แต่จากกราฟจะเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤติ COVID-19 มูลค่าการส่งออกก็ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน และกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในช่วงปี 2566 ซึ่งคาดว่าเกิดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของหลายๆประเทศ รวมถึงการที่ช่วงวิกฤติ COVID-19 มีผู้ตกงานจำนวณมากซึ่งอาจจะตัดสินใจเปลี่ยนมาทำธุกิจขนาดเล็กส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

แผนภาพแสดงยอดการส่งออกเฉลี่ยในแต่ละเดือนตามขนาดของธุรกิจ

image.png
เมื่อคุณเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงผลกระทบของแต่ละช่วงเวลาในแต่ละปี ซึ่งสินค้าบางกลุ่มอาจได้รับผลกระทบจาก ฤดูกาล หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น สินค้าการเกษตร หรือสินค้าที่ใช้ในช่วงเทศกาล และสินค้าที่ทำธุรกิจโดยตรงกับหน่วยงานภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายตามรอบงบประมาณ จากค่าเฉลี่ยร้อยละของมูลค่าการส่งออกปี 2561-2566 พบว่ามีเพียงเดือนมกราคม เดือนธันวาคมที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ย โดยมูลค่าการส่งออกจะสูงที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม และค่อนมีความสม่ำเสมอของมูลค่าการส่งออกจากเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน
จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลอาจสรุปได้ว่าการที่มูลค่าการส่งออกส่งขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนมีนาคมอาจเกิดจากมูลค่าการส่งออกของสินค้าบางกลุ่มเช่น กลุ่มสินค้าที่มีรอบการสั่งซื้อเพียงปีละครั้งและสามารถกักตุนสินค้าไว้ใช้งานได้ตลอดทั้งปี หรือสินค้าที่ขายโดยตรงให้กับหน่วยงานภาครัฐซึ่งมักจะมีการสั่งซื้อและจ่ายเงินในช่วงไตรมาสแรกของปี รวมถึงการที่มูลค่าการส่งออกลดลงในช่วงพฤศจิกายน และธันวาคมนั้นเกิดจากการตัดปีงบประมาณ หรือเป็นช่วงเวลาที่มีวันหยุดค่อนข้างเยอะ และเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจต่างๆ วางแผนกำหนดแนวทางกลยุทธการดำเนินธุรกิจ จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินธุรกิจในปีงบประมาณต่อไป

ผลิตภัณฑ์ที่น่าลงทุน

แผนภาพแสดงร้อยละมูลค่าการส่งออกแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์

image.png
เมื่อคุณทราบแล้วว่าประเทศไหนที่คุณควรจะส่งออก ในช่วงเวลาใด สิ่งสำคัญอีกประการคือคุณจะส่งออกผลิตภัณฑ์อะไร โดยจากการจัดอันดับ 10 อันดับ ผลิตภัณฑ์ตามมูลค่าการส่งออกจะช่วยให้คุณเลือกผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะเลือกการทำธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกัน ทั้งในการประกอบธุรกิจ และคู่ค้าทางธุรกิจเพื่อให้เกิดการผสมผสานทางธุรกิจที่ดี อีกทั้งการที่มีมูลค่าการส่งออกสูงย่อมหมายถึงเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในระดับสากล
อัตราการเติบโตเฉลี่ย ปี 2561-2566
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
อันดับ
ผลิตภัณฑ์
อัตราการเติบโตเฉลี่ย ปี 2561-2566
1
ผลไม้และลูกนัต
21.05%
2
ไข่มุก
8.78%
3
เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่
3.04%
4
อุปกรณ์ไฟฟ้า
1.92%
5
ยานบก
1.89%
6
ยางและของทำด้วยยาง
0.94%
7
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
0.29%
8
เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์
-0.69%
9
ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์
-1.60%
10
พลาสติก
-2.24%
There are no rows in this table
อีกคำถามที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์ใดที่กำลังมาแรง และมีการเติบโตที่น่าสนใจในการลงทุนทำธุรกิจ จากการคิดอัตราการเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออกแบบปีต่อปีตั้งแต่ 2561 -2566 พบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มผลไม้และลูกนัตมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 20% ต่อปีซึ่งถือว่ามีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งอาจเนื่องด้วยแม่จะอยู่ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ก็ยังคงมีความต้องการซื้อย่างต่อเนื่องจากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งไทยก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสี่ยงและมีคุณภาพสินค้าทางการเกษตรอันดับต้นของโลก ซึ่งหากประกอบธุรกิจส่งออกผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ก็มีแนวโน้มที่จะสามารถเติบโตและมีผู้ซื้ออย่างต่อเนื่องได้

TIPS*ประเทศไทยเป็นครัวโลก [จริงหรือ?]

แผนภาพแสดงร้อยละการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ปี 2561-2566

image.png
แผนภาพแสดงแนวโน้มการเติบโตของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร
image.png
จากการที่เมืองไทยมุ่งมั่นที่จะเป็น “ครัวโลก” หรือก็คือเป็นผู้ส่งออกหลักในด้านอาหารแต่จากการวิเคราะ์สัดส่วนปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารเทียบกับปริมาณสินค้าที่ส่งออกทั้งหมดแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและการเกษตรนั้นคิดเป็นร้อยละ 20 โดยประมาณ รวมถึงแนวโน้มที่ลดลงในช่วงปี 2565-2566 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะต้องวางกลยุทธการส่งเสริมผู้ผลิตและผู้ส่งออกให้มากขึ้น และต่อเนื่องเพื่อให้ในอนาคตประเทศไทยจะสามารถเป็นครัวโลกได้อย่างยั่งยืน

สรุป

จากข้อมูลมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2561-2566 สามารถสรุปแนวทางการใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
ประเทศที่ต้องการส่งออกโดยในกรณีที่คุณเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการทำธุรกิจควรมุ่งเน้นการส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงประเทศไทย เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย และประเทศจีน เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนการขนส่งได้ง่าย
หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็กควรมีการประเมินความเสี่ยงและวางมาตรการป้องกันผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้มีมาตรการดำเนินงานในภาวะวิกฤติเหมือนเช่นตอนไวรัสโควิด-19 ระบาดในช่วงปี 2020-2021 และสามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกจากกลุ่มที่มีการเติบโตดีในช่วงปี 2561-2566 ที่ผ่านมา หรือเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจอาจแบ่งสัดส่วนการทำธุรกิจควบคู่กัน เช่น ส่งออกผลไม้และลูกนัด ร่วมกับธุรกิจส่งออกยางและของทำด้วยยางซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสามารถเจรจาต่อรองกับเกษตรกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงได้

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำเสนอ

กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการวิเคราะห์ข้อมูล
ทำ Pivot Table วิเคราะห์ข้อมูลประเทศที่มีการส่งออกแยกตามเดือน มกราคม-ธันวาคม ปี 2561-2566
ทำ Pivot Table วิเคราะห์ข้อมูลแยกตามขนาดของวิสาหกิจเพื่อประผลกระทบของขนาดธุรกิจต่อมูลค่าการส่งออก
ทำ Pivot Table วิเคราะห์มูลค่าการส่งออกแยกตามผลิตภัณฑ์จากปี 2561-2566
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีการบึนทึกแบบปีต่อปีและไม่มีการแก้ไขข้อมูลปีเก่าให้ตรงกับปีใหม่จึงต้องตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ชื่อประเทศ ชื่อผลิตภัณฑ์ และตัวเลขต่างๆ
ทำการวิเคราะ์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ
จัดทำแผนภาพและจำลองการนำเสนอ

Want to print your doc?
This is not the way.
Try clicking the ⋯ next to your doc name or using a keyboard shortcut (
CtrlP
) instead.